1. จากการศึกษาเนื้อหาในบทที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอนจะพบว่ามีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเป็นอย่างมากท่านคิดว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนมากที่สุด 3 อันดับแรกเพราะเหตุใดจงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ
อันดับ 1. ซิปปา (CIPPA) เพราะ ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคําถามได้ที่ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทํางานเป็นกลุ่มการสื่อสาร รวมทั้งเกิดการใฝ่รู้ด้วย
อันดับ 2. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct Instruction Model) เพราะการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาที่จำกัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตน จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
อันดับ 3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่อง (Storyline Method) เพราะ ผู้เรียนจะเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ
2. จงหาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 1 แผนที่ได้นำแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนแบบต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหาในบทที่ 3 โดยค้นหาและดาวน์โหลดจากงานวิจัยตามมาตรฐานของข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ Thailis หรือแหล่งสืบค้นวิทยานิพนธ์ตามเว็บไซต์ของมหาลัยภายในประเทศเช่นมหาลัยเชียงใหม่มหาลัยสารคามเป็นต้นและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ตอบ http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2553_M.Ed_Pithplern-Wichit.pdf
https://www.tci-thaijo.org/index.php/EduAdm_buu/article/view/18135
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 3 เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
หน้าเเรก
วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
คำถามท้ายบทที่ 7
1. จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากหรือง่ายเพียงใดและขั้นตอนการเขียนแผนจัดการเรียนรู้สำหรับตัวท่านแล้วขั้นตอนใดมีความยากหรือง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับแรก เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากมาก
อันดับ 1. ขั้นวิเคราะห์สาระหน่วยการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพราะต้องทำความเข้าใจ
อันดับ 2. ขั้นเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม เพราะต้องจัดใหมีความเหมาะสม
อันดับ 3. ขั้นจัดเตรียมเครื่องมือ ส่อการสอน แหล่งการเรียนรู้ เพราะต้องจัดให้ครบอย่าได้ขาดตกบกพร่อง
2. ในประโยคที่ว่าในปัจจุบันการวัดผลไม่ได้ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียนสำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายอย่างไรและมีวิธีการปฏิรูปจึงได้อย่างไร
ตอบ หมายถึง การวัดผลที่วัดจากสภาพที่จริงที่เกิดจากจิตสำนึกของบุคคล ไม่ใช่วัดจากการทดสอบอย่างเดียว
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้โดยอยู่ในรูปแบบแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
คำถามท้ายบทที่ 6
1. สื่อการเรียนการสอนคืออะไรมีประโยชน์อย่างไร ท่านเคยมีความประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์เรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่และผู้สอนใช้สื่อการเรียนการสอนนั้น อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
ประโยชน์สื่อการสอน ช่วยให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิ เพราะผู้เรียนได้ศึกได้เห็นข้อมูลมากขึ้น
รู้สึกประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์เรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ
2. หากท่านมีโอกาสได้จัดการเรียนการสอนเรื่องอาหารพื้นเมืองอีสานให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ท่านจะเลือกใช้สื่อการสอนอย่างไร เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ อาจใช้โมเดลแบบจำลองรูปลักษณะของอาหารอีสานที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เพราะนักเรียนจะได้เห็นภาพด้วยตาตนเองและเป็นสื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 6 เรื่อง การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
ตอบ สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บ และแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาทั้งยังมีเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
ประโยชน์สื่อการสอน ช่วยให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิ เพราะผู้เรียนได้ศึกได้เห็นข้อมูลมากขึ้น
รู้สึกประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์เรียนรู้ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ
2. หากท่านมีโอกาสได้จัดการเรียนการสอนเรื่องอาหารพื้นเมืองอีสานให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ท่านจะเลือกใช้สื่อการสอนอย่างไร เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ อาจใช้โมเดลแบบจำลองรูปลักษณะของอาหารอีสานที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เพราะนักเรียนจะได้เห็นภาพด้วยตาตนเองและเป็นสื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 6 เรื่อง การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
คำถามท้ายบทที่ 5
1. ตามความเข้าใจของท่าน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความหมายว่าอย่างไรและเหตุผลใดการปฏิรูปการศึกษาจึงสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
ตอบ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความหมายว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน
ความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา
1.ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย การปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้ป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เป็นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ. 2545ซึ่งเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับครูอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมย์ของกฎหมาย
2. จากตัวอย่างของวิธีการจัดการสอนตามเส้นทางดำเนิน เรื่องในหน้า 203 และ231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ท่านคิดว่าผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ ด้านการคิด วิเคราห์ การสืบค้นข้อมูล เพราะจากการเรียนการสอนข้างต้นแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้เรียนที่แสดงออกมาในลักษณะเป็นการศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัตจริง
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
ตอบ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความหมายว่า
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน
ความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา
1.ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย การปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้ป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เป็นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ. 2545ซึ่งเป็นภารกิจที่มีกฎหมายรองรับครูอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมย์ของกฎหมาย
2. จากตัวอย่างของวิธีการจัดการสอนตามเส้นทางดำเนิน เรื่องในหน้า 203 และ231 ในหัวข้อเรื่องป่าไม้ท่านคิดว่าผู้เรียนจะได้พัฒนาตนเองในด้านใดบ้าง ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ ด้านการคิด วิเคราห์ การสืบค้นข้อมูล เพราะจากการเรียนการสอนข้างต้นแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้เรียนที่แสดงออกมาในลักษณะเป็นการศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัตจริง
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระของบทที่ 5 เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
คำถามท้ายบทที่ 4
1.ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนท่านคิดว่ากลยุทธ์การเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อตัวท่านและผู้เรียนอย่างไรจงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุน
ตอบ ช่วยในเรื่องของการเรียนรู้อย่างเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะเราได้เลือกจัดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์และเนื้อหาของการเรียน
2.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 4 กลยุทธ์การเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
คำถามท้ายบทที่ 2
1. จากเนื้อหาในบทที่ 2 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหลากหลายท่านคิดว่าวิธีการสอนแบบใดที่มีความน่าสนใจต่อตัวท่านมากที่สุดมา 3 อันดับแรกเพราะเหตุใดจงอธิบายและให้เหตุผล
ตอบ อันดับ 1. วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method) เพราะ ทำให้รู้จักตัวเอง สังคม สภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด เป็นวิธีการสอนที่คล้ายวิธีของวิทยาศาสตร์ อันดับ 2. การสอนแบบ CIPPA เพราะเป็นวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนให้สร้างความรู้ด้วยตนเองและให้ลงมือทำ
อันดับ 3. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing) เพราะเป็นวิธีที่ทำให้เข้าใจในตัวละครที่ได้แสดงนั้นลึกซึ้ง ทำให้เป็นคนเปิดใจ และมีจินตนาการ
2 .ท่านคิดว่าวิธีการสอนและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีความสำคัญและประโยชน์ต่อนักเรียนครูผู้สอนและสถาบันศึกษาอย่างไรจงอธิบายและให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
ตอบ ช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์ได้ดีขึ้น เพราะมีการจัดรูปแบบวิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์ ช่วยให้ครูผู้สอนมีการจัดระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ช่วยให้สถานศึกษามีนักเรียนและครูที่มีความรู้ที่แท้จริง
3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 2 เรื่องวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้อยู่ในรูปแบบผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
คำถามท้ายบทที่ 1
1. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาหา เรื่อง แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้การสอนในบทที่ 1 ท่านคิดว่า การออกแบบการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อนักเรียน ครูผู้สอนและสถานศึกษาอย่างไร จงอธิบายและให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
ตอบ ในการบรรลุจุดประสงค์ต่างๆที่กำหนดจำเป็นต้องมี การออกแบบการเรียนการสอน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนสามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนประสบความคาดหวัง ครูผู้สอนมีประสบการณ์และผลงาน สถานศึกษาได้รับการประเมินที่มีคุณภาพ
2. ท่านคิดว่าการเรียนการออกแบบดั่งเดิมและการเรียนการสอนเชิงระบบมีข้อดี และ ข้อเสียอย่างไร จงอธิบายและให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ
ตอบ 1. การออกแบบดั่งเดิม มีข้อดีคือ ครูผู้สอนมีเวลาเยอะเพราะไม่ได้มีการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงทำให้ภาระงานเบาลง ข้อเสียคือ ผู้เรียนอาจไม่ได้รับรู้จุดประสงค์หรือผลต่างๆที่จะได้รับ
2. การเรียนการสอนเชิงระบบ มีข้อดีคือ เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพราะมีการวางแผนในการจัดการเรียนการสอน ส่วนข้อเสียคือ ผู้สอนอาจต้องทุ่มเทเวลาให้กับการออกแบบการเรียนการสอนมากๆเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
3.จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 1 เรื่องแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้การคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาในให้สมบูรณ์ที่สุด
ตอบ
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่า การประเมินผล เป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ หรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจจะต้องปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยยึดความคิดรวบยอด จุดประสงค์ของการเรียนรู้ หรือผลลัพธ์ของการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ในหลาย ๆ ด้านได้แก่ ด้านความรู้ และเทคนิควิธีตลอดจนการนำสื่อมาใช้เป็นต้น
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. พิจารณากำหนดการใช้เวลาที่จะทำการสอนแต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อให้เหมาะสม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ หลักสูตรเป็นแนวทางในการกำหนดการใช้เวลา
6. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ โดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรม จะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตรรายวิชา ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ที่ครูจะต้องสอนแล้ว โดยทั่วไปส่วนใหญ่ผู้สอนมักจะเน้นเพียงแต่สาระการเรียนรู้ พยายามเร่งสอนเพื่อให้จบตามเป้าหมาย ของระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน โดยยังไม่ได้คำนึงถึงผู้เรียนว่ากิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนมีความเหมาะสมเพียงใด ผู้เรียนบรรลุและสามารถปฏิบัติสิ่งที่ครูตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดมากน้อยไปเพียงใด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในการจัดหน่วยการเรียนรู้จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ย่อย ๆ ได้ตามขั้นตอนดังนี้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนข้อมูลเหล่านี้ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหา และตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น 2. การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดเรื่องที่สอน โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนที่ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อม และความรู้เดิมของผู้เรียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ
4. ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือแก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ อาจเปรียบได้ง่าย ๆ กับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม(ความรู้ที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหา และตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้วางแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียนและสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น 2. การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดเรื่องที่สอน โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนที่ต้องวิเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อม และความรู้เดิมของผู้เรียน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ
4. ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือแก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ อาจเปรียบได้ง่าย ๆ กับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกัน ผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม(ความรู้ที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
แนวทางการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนว คือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนหรือเป็นปี ด้วยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่า หรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่อง ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่าง ๆ กัน และอาจเรียกว่าบันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่าหรือแผนการสอนแต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทนซึ่ง สถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539, หน้า 370-371) ได้แบ่งชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้ เป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว ต้องการให้ครูมองเห็นการไกลอาจจะเป็น
การทำแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับหนึ่งภาคเรียน หรือหนึ่งปี เป็นการเตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อจะกำหนดสอนอะไรบ้าง เริ่มต้นจากไหนจะสิ้นสุดตรงไหน จะทำการทดสอบเมื่อใด
กี่ครั้งการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวโดยเฉพาะในภาคเรียนหนึ่งๆ ต้องใช้เวลามาก ดังนั้นจึงมักจะมีการเตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้ไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนเปิดเทอม โดยผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันมาร่วมกันพิจารณา เพื่อจะได้ข้อคิดที่กว้างขวางขึ้น แต่แผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวนี้เป็นการกำหนดระยะเวลาในเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้นไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสอน เพราะครูไม่สามารถทราบลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามผู้สอนก็ใช้การคาดคะเนในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวไว้ก่อนโดยอาศัยแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวจากภาคเรียนก่อน
2. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วย หลังจากที่ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนมากขึ้นแล้ว เมื่อเปิดภาคเรียน ครูควรจะทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดขึ้นกว่าแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวโดยครูจะมุ่งความสนใจเตรียมการสอนเฉพาะเจาะจงในหน่วยเนื้อหาวิชา ว่าหน่วยการสอนนั้น ๆ จะสอนอย่างไร สอนชั้นใด ใช้เวลาสอนกี่คาบเรียน มีจุดประสงค์ใดในการสอนหน่วยนั้น ใช้กิจกรรมใดเป็นหลัก และสื่อการสอนที่ใช้มีอะไรบ้างเพื่อให้ครูได้เตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับหน่วยการเรียนนั้น ๆ
3. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียน เป็นการทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดที่สุด โดยการเตรียมเนื้อหาแต่ละบทเรียนที่จะสอนในคาบเรียนหนึ่ง ๆ ผู้สอนแต่ละคนจะทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนของตนเองเพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนที่จะต้องสอน เนื้อหากิจกรรมการเรียน สื่อ การสอน การประเมินผล การเตรียมการสอนระดับนี้ควรจะเตรียมล่วงหน้าก่อนสอนจริงประมาณ 2-3 วันจากชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ว่า ชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น3 ชนิด คือ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว เป็นการทำแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับภาคเรียนหรือปีการศึกษา จะกำหนดระยะเวลาในเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้น การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วย จะละเอียดกว่าแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวเป็นการเตรียมการสอนเฉพาะเจาะจงในหน่วยการสอนแต่ละหน่วย โดยกำหนดเวลาที่จะสอน จุดประสงค์การสอนในหน่วยนั้น กิจกรรมการเรียนและการสื่อการสอน ให้เหมาะสมกับหน่วยนั้น ๆ และการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดที่สุดเป็นการเตรียมเนื้อหาแต่ละบทที่จะสอนในคาบหนึ่งๆ ผู้สอนจะเป็นผู้ทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนของตนเอง
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่าง ๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้นการกำหนดการสอนจึงอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียนวันหยุด วันสำคัญต่าง ๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจน การกำหนด วันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอน เปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลา การดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใด ต้องสอนก่อนหลัง ใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทันตามกำหนดที่ต้องการ
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนการสอนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเขียนไว้เพียงย่อ ๆ หรือคร่าว ๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปี หรือตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหากับเวลาในการสอนสัมพันธ์กัน การทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วย
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. นำหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนด ในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่ใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำกำหนดการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอน เพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ เป็นการคิดวางแผนไว้ล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และชุมชนอยู่เสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่กระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่าง ๆ
5. ทำให้การประเมินผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
แผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับโรงเรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการ และความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ คำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
https://wassanakasrimathematics.wordpress.com/แผนการจัดการเรียนรู้/
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนหรือเป็นปี ด้วยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่า หรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่อง ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่าง ๆ กัน และอาจเรียกว่าบันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่าหรือแผนการสอนแต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทนซึ่ง สถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539, หน้า 370-371) ได้แบ่งชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้ เป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว ต้องการให้ครูมองเห็นการไกลอาจจะเป็น
การทำแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับหนึ่งภาคเรียน หรือหนึ่งปี เป็นการเตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อจะกำหนดสอนอะไรบ้าง เริ่มต้นจากไหนจะสิ้นสุดตรงไหน จะทำการทดสอบเมื่อใด
กี่ครั้งการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวโดยเฉพาะในภาคเรียนหนึ่งๆ ต้องใช้เวลามาก ดังนั้นจึงมักจะมีการเตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้ไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนเปิดเทอม โดยผู้สอนในระดับชั้นเดียวกันมาร่วมกันพิจารณา เพื่อจะได้ข้อคิดที่กว้างขวางขึ้น แต่แผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวนี้เป็นการกำหนดระยะเวลาในเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้นไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสอน เพราะครูไม่สามารถทราบลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามผู้สอนก็ใช้การคาดคะเนในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวไว้ก่อนโดยอาศัยแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวจากภาคเรียนก่อน
2. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วย หลังจากที่ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนมากขึ้นแล้ว เมื่อเปิดภาคเรียน ครูควรจะทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดขึ้นกว่าแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวโดยครูจะมุ่งความสนใจเตรียมการสอนเฉพาะเจาะจงในหน่วยเนื้อหาวิชา ว่าหน่วยการสอนนั้น ๆ จะสอนอย่างไร สอนชั้นใด ใช้เวลาสอนกี่คาบเรียน มีจุดประสงค์ใดในการสอนหน่วยนั้น ใช้กิจกรรมใดเป็นหลัก และสื่อการสอนที่ใช้มีอะไรบ้างเพื่อให้ครูได้เตรียมทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับหน่วยการเรียนนั้น ๆ
3. การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียน เป็นการทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดที่สุด โดยการเตรียมเนื้อหาแต่ละบทเรียนที่จะสอนในคาบเรียนหนึ่ง ๆ ผู้สอนแต่ละคนจะทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนของตนเองเพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนที่จะต้องสอน เนื้อหากิจกรรมการเรียน สื่อ การสอน การประเมินผล การเตรียมการสอนระดับนี้ควรจะเตรียมล่วงหน้าก่อนสอนจริงประมาณ 2-3 วันจากชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ว่า ชนิดของการทำแผนการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น3 ชนิด คือ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว เป็นการทำแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับภาคเรียนหรือปีการศึกษา จะกำหนดระยะเวลาในเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้น การทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับหน่วย จะละเอียดกว่าแผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาวเป็นการเตรียมการสอนเฉพาะเจาะจงในหน่วยการสอนแต่ละหน่วย โดยกำหนดเวลาที่จะสอน จุดประสงค์การสอนในหน่วยนั้น กิจกรรมการเรียนและการสื่อการสอน ให้เหมาะสมกับหน่วยนั้น ๆ และการทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดที่สุดเป็นการเตรียมเนื้อหาแต่ละบทที่จะสอนในคาบหนึ่งๆ ผู้สอนจะเป็นผู้ทำแผนการจัดการเรียนรู้ระดับบทเรียนของตนเอง
ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่าง ๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้นการกำหนดการสอนจึงอาจแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียนวันหยุด วันสำคัญต่าง ๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจน การกำหนด วันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอน เปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลา การดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใด ต้องสอนก่อนหลัง ใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทันตามกำหนดที่ต้องการ
หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนการสอนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเขียนไว้เพียงย่อ ๆ หรือคร่าว ๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปี หรือตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหากับเวลาในการสอนสัมพันธ์กัน การทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วย
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. นำหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนด ในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่ใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ
ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
การทำกำหนดการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอน เพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ เป็นการคิดวางแผนไว้ล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียน และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และชุมชนอยู่เสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่กระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่าง ๆ
5. ทำให้การประเมินผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
แผนการสอนที่ดีควรมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา ตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับโรงเรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการ และความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์ คำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อม กาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการสอน
แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
รูปแบบของแผนการสอน
รูปแบบของแผนการสอนสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆได้ 2 ลักษณะดังนี้
1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
https://wassanakasrimathematics.wordpress.com/แผนการจัดการเรียนรู้/
ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอน เป็นการเลือก และตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้านี้ ยังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอนและการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539, หน้า 368-369) ได้กล่าวถึงความสำคัญของ
การทำแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. การทำแผนการจัดการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าจะทำให้การสอนดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด เพราะในการทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงเรื่องจุดมุ่งหมายของสิ่งที่สอน การดำเนินการสอนการจัดกิจกรรม และการกำหนดงานให้ผู้เรียนทำ เป็นการลดความผิดพลาดในการสอนลง
การสอนโดยไม่มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ย่อมเกิดความผิดพลาดมากกว่า เพราะผู้สอนอาจจะดำเนินการสอนอย่างสับสนปนเป เพราะจำรายละเอียดเรื่องที่สอนไม่ได้ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้ายังช่วยประหยัด เวลาในการสอน เพราะผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจจุดมุ่งหมายของสิ่งที่จะสอน ว่าวิชาที่สอนเพ่งเล็งส่งเสริม
ความเจริญงอกงามทางใดแก่ผู้เรียน แล้วจึงดำเนินการสอนและวัดผลให้คล้อยตามจุดมุ่งหมายนั้น
ผู้สอนต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาในปัจจุบันมุ่งให้ผู้เรียนเจริญงอกงามทุกวิถีทางนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ และนิสัยที่พึงปรารถนาด้วย
3. ช่วยให้ผู้สอนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองในการสอน เพราะผู้สอนได้ใช้เวลาในการทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบแล้วว่าจะต้องวางขั้นตอนอย่างไรในการสอน หาวิธีอธิบายอย่างไรที่จะให้ผู้เรียนรู้มโนมติยาก ๆ ตัดสินใจว่าจะใช้สื่อการสอนอะไรที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
เป็นต้น
4. ช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่างเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอน เพราะการทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้วนั้น จะทำให้ผู้สอนมีขอบเขตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาตามที่ตั้งไว้ไม่ทำให้สอนเนื้อหาเกินเลยไปหรือสอนเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องเพราะสถานการณ์ชักพาไปได้
5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเลื่อมใส และเชื่อถือในตัวผู้สอนยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนย่อมนับถือผู้ที่สอนให้ตนมีความรู้ได้ ยิ่งผู้สอนที่มีความขยันขันแข็งต่อการสอนอยู่เสมอย่อมทำตนให้เป็นแนวทางที่ดีต่อผู้เรียน
6. ช่วยให้ความสะดวกแก่การบริหารงานของโรงเรียน หากครูผู้สอนไม่สามารถทำ
การสอนได้ด้วยเหตุจำเป็นกะทันหัน เช่น เจ็บป่วยหรือติดธุระย่อมสะดวกแก่ผู้สอนอื่นที่จะทำ
การสอนแทน โดยการศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ทำไว้ อนึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่ทำเป็นหลักฐานไว้ ย่อมแสดงว่าผู้สอนได้มีการเตรียมการสอนอย่างดี เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน เป็นหลักฐานใน การให้ความดีความชอบในการประกอบอาชีพ
7. ช่วยให้ผู้สอนสามารถวิเคราะห์การสอนที่ผ่านไปแล้วได้ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยกลับมาดูที่แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ทำแล้ว ผู้สอนจะหาทางปรับปรุงแก้แผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการสอนต่อไปในอนาคตและทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาที่จะเริ่มต้นคิดแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
https://wassanakasrimathematics.wordpress.com/แผนการจัดการเรียนรู้/
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539, หน้า 368-369) ได้กล่าวถึงความสำคัญของ
การทำแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1. การทำแผนการจัดการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าจะทำให้การสอนดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด เพราะในการทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงเรื่องจุดมุ่งหมายของสิ่งที่สอน การดำเนินการสอนการจัดกิจกรรม และการกำหนดงานให้ผู้เรียนทำ เป็นการลดความผิดพลาดในการสอนลง
การสอนโดยไม่มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ย่อมเกิดความผิดพลาดมากกว่า เพราะผู้สอนอาจจะดำเนินการสอนอย่างสับสนปนเป เพราะจำรายละเอียดเรื่องที่สอนไม่ได้ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้ายังช่วยประหยัด เวลาในการสอน เพราะผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจจุดมุ่งหมายของสิ่งที่จะสอน ว่าวิชาที่สอนเพ่งเล็งส่งเสริม
ความเจริญงอกงามทางใดแก่ผู้เรียน แล้วจึงดำเนินการสอนและวัดผลให้คล้อยตามจุดมุ่งหมายนั้น
ผู้สอนต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาในปัจจุบันมุ่งให้ผู้เรียนเจริญงอกงามทุกวิถีทางนอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ และนิสัยที่พึงปรารถนาด้วย
3. ช่วยให้ผู้สอนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองในการสอน เพราะผู้สอนได้ใช้เวลาในการทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบแล้วว่าจะต้องวางขั้นตอนอย่างไรในการสอน หาวิธีอธิบายอย่างไรที่จะให้ผู้เรียนรู้มโนมติยาก ๆ ตัดสินใจว่าจะใช้สื่อการสอนอะไรที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
เป็นต้น
4. ช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่างเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอน เพราะการทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้าเป็นอย่างดีแล้วนั้น จะทำให้ผู้สอนมีขอบเขตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาตามที่ตั้งไว้ไม่ทำให้สอนเนื้อหาเกินเลยไปหรือสอนเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องเพราะสถานการณ์ชักพาไปได้
5. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเลื่อมใส และเชื่อถือในตัวผู้สอนยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนย่อมนับถือผู้ที่สอนให้ตนมีความรู้ได้ ยิ่งผู้สอนที่มีความขยันขันแข็งต่อการสอนอยู่เสมอย่อมทำตนให้เป็นแนวทางที่ดีต่อผู้เรียน
6. ช่วยให้ความสะดวกแก่การบริหารงานของโรงเรียน หากครูผู้สอนไม่สามารถทำ
การสอนได้ด้วยเหตุจำเป็นกะทันหัน เช่น เจ็บป่วยหรือติดธุระย่อมสะดวกแก่ผู้สอนอื่นที่จะทำ
การสอนแทน โดยการศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ทำไว้ อนึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่ทำเป็นหลักฐานไว้ ย่อมแสดงว่าผู้สอนได้มีการเตรียมการสอนอย่างดี เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน เป็นหลักฐานใน การให้ความดีความชอบในการประกอบอาชีพ
7. ช่วยให้ผู้สอนสามารถวิเคราะห์การสอนที่ผ่านไปแล้วได้ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยกลับมาดูที่แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งได้ทำแล้ว ผู้สอนจะหาทางปรับปรุงแก้แผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการสอนต่อไปในอนาคตและทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาที่จะเริ่มต้นคิดแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
https://wassanakasrimathematics.wordpress.com/แผนการจัดการเรียนรู้/
ความหมายของการวางแผนการสอน
นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ดังนี้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (หน้า68) ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและการกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล
วาสนา เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้ ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย เกิดการกลระหนลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2543 หน้า 44) เสนอไว้ว่าการวางแผนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอน โดยใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
สำลี รักสุทธี (2544, หน้า 42) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ แผนการหรือโครงการ ที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการระดมสรรพวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง (2545, หน้า 53) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง ให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนดแผนจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับบทเรียน (Lesson Plan)
บูรชัย ศิริมหาสาคร (2545, หน้า 1) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อแจกแจงรายละเอียดของหลักสูตร ทำให้ครูผู้สอนสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนเป็นรายคาบหรือ รายชั่วโมง และยังได้กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Teaching Plan” หรือ “Lesson Plan” หมายถึง การวางแผนการจัดการเรียนรู้หรือการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนที่จะทำการสอน แล้วจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ใครก็ตามที่จะทำการสอนในวิชานั้น ๆ สามารถใช้เป็นแนวทางในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ คือ การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นรายคาบหรือรายชั่วโมง รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สอนพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
https://wassanakasrimathematics.wordpress.com/แผนการจัดการเรียนรู้/
การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่ว ๆ ไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้ว งานย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การใช้วิธีการจัดระบบงานต่างๆรวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการวางแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ได้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ฐานเป็นเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีในประกอบด้วยการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานและการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way midium) นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสิ่งที่ให้ข้อมูลป้อนกลับตัวอย่าง คือ ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย มีครูซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือผู้ที่เรียนช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนการสอนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่น การฝึกเสริม ตัวอย่างเสริมกลุ่มพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการจัดไหม
กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมา ไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่างผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องทำการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือการตัดไหมจริงๆ
กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่น อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน์ ภาพยนตร์)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ประเภทของสื่อ
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นเช่นดิจิตอล วีดีโอ อินเตอร์แอคทีฟเทคโนโลยี
4 .สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
บทบาทของผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหน้าที่ที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ ผู้ออกแบบจะต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพต้องรับรู้กันชนหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยและเป็นการท้าทายสำหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทำให้ได้ ครูมักออกแบบตามความเชื่อของตนที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสม หรือ ออกแบบตามแนวคิดของนักการศึกษาที่ได้ให้หลักการและวิธีการดำเนินการไว้เป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายมากมายทั้งที่เป็นระบบการสอน รูปแบบการสอน หรือเป็นกระบวนการขั้นตอนการสอนที่สามารถนำมาใช้ออกแบบการสอนได้เลย ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดของชาวต่างชาติ เช่น รูปแบบการสอนของบราวน์ (Brown) เกอลาชและอีลี (Gerlach and Ely)
เจอโรลด์ เคมป์(Jerrold Kemp) เป็นต้น
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
http://mizcandycawaii.wixsite.com/tech/blank-4
การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
คำว่า สื่อ (medium หรือ media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตำรา เทป วีดีทัศน์ภาพยนตร์และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาละติน หมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปที่ประชาชน เป็นพาหนะของการโฆษณา (Guralnikjv07,1970)
กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 196) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอนเพื่อการค้าที่ประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตง่ายได้ที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนศึกษานิเทศพ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนองค์กรสถาบันวิชาการหน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 มาตราที่ 24 กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจนโดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการ
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยความสะดวก
4. พัฒนาสภาพแวดล้อม
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายใน
บทบาทของครูผู้สอน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิด
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
6. ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาและยอมรับ เข้าใจตนเอง
7. ให้คำปรึกษาด้านการเรียน ชีวิต และแนวทางการพัฒนาตนเอง
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะ รู้ข้อดีข้อเสียของตน
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหา
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเอง
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินตนเอง
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
2. ให้ความรักและความอบอุ่น
3. ให้อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่สร้างสุขนิสัยที่ดี
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสำนึกในเรื่องวินัยตนเอง
5. สร้างบรรยากาศเรียนรู้ในบ้าน
6. ให้คำปรึกษาและแนะนำเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมือสร้างสรรค์ในการพัฒนาการศึกษา
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็ก
บทบาทของผู้เรียน
ความมุ่งหวังของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะเก่ง ดี มีความสุข ดังนั้นบทบาทของเรียนควรมีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายของการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถ
2. มีส่วนร่วมในการจัดแผนกระบวนการเรียนรู้
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการศึกษา
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7. ศรัทธาต่อผู้สอน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism)
แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยาEmile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral)
เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus-คือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม) และการตอบสนอง (Response - ตัวพฤติกรรม) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือ เกิดการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น ในการเรียนรู้ความจริงกลุ่มนี้ก็สนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดและปฏิกิริยาซึ่งเกิดขึ้นภายในเหมือนกัน แต่ว่ายากแก่การสังเกตและรู้สึกว่ามิใช่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงสนใจเฉพาะสิ่งที่สังเกตได้เท่านั้น การที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในและปฏิกิริยาของผู้เรียนน้อยเพราะศึกษาทดลองโดยสัตว์ชั้นต่ำ เช่น หนู เป็นต้น ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มนี้ เช่น พาพลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดค์ (Edward Thondike) และ สกินเนอร์ (B.F Skinner) พื้นฐานความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมคือสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism)
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
4. ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก บรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์ เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา
วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองเรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลย์ทั้งด้านปัญญาความคิดและด้านอารมณ์โดยความสามารถทางปัญญาและความคิดได้แก่ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณส่วนความสามารถทางอารมณ์
การสอนแบบโครงงาน
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการและวิธีเกี่ยว กลับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบ 4 MAT
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมสคาร์ที ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการศึกษาด้านพัฒนาสมองสองซี่ได้แก่ความสามารถของสมองซีกขวาคือการสังเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การใช้สามัญสำนึกการคิดแบบหลากหลายและความสามารถของสมองซีกซ้ายคือการคิดวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลการคิดแบบปรนัยการคิดแบบมีทิศทางตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
วิธีการสอนแบบร่วมมือ
สเปนเซอร์ คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชียโดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล
วิธีสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาการหลายๆ แขนง ในลักษณะสห วิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง
เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกันโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนหลักส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแก่นเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทั้งภาษาไทยศิลปะคณิตศาสการจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมุติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สดของกันเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถามขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องให้คำตอบอยู่ในใจการสอนแบบนี้ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉาวิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้าการอ่านการฟังคำบรรยายแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการโดยใช้รูปภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การสอนแบบโครงงาน
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการและวิธีเกี่ยว กลับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการสอดแทรกคุณธรรมทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบ 4 MAT
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจากเบอร์นิส แมสคาร์ที ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนและผลการศึกษาด้านพัฒนาสมองสองซี่ได้แก่ความสามารถของสมองซีกขวาคือการสังเคราะห์การคิดสร้างสรรค์การใช้สามัญสำนึกการคิดแบบหลากหลายและความสามารถของสมองซีกซ้ายคือการคิดวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลการคิดแบบปรนัยการคิดแบบมีทิศทางตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
วิธีการสอนแบบร่วมมือ
สเปนเซอร์ คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชียโดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล
วิธีสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาการหลายๆ แขนง ในลักษณะสห วิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีสอนแบบเล่าเรื่อง
เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกันโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนหลักส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษาหรือวิทยาศาสตร์หรือสุขศึกษาเป็นแก่นเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทั้งภาษาไทยศิลปะคณิตศาสการจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมุติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สดของกันเนื้อหาสาระที่จะเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถามขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องให้คำตอบอยู่ในใจการสอนแบบนี้ในการจัดการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบนี้ปุจฉาวิสัชนา จะใช้ในการเรียนรู้ได้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
วิธีการสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด
เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้าการอ่านการฟังคำบรรยายแล้วนำข้อมูลมาจัดกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการโดยใช้รูปภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
คำว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ มาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่บัญญัติไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเติมเต็มศักยภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎีเช่นพุทธะปรัชญาจิตวิทยาสามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือการยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีการนี้ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80 ปีแล้วปัจจุบันได้มีผู้นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายไปทางที่พึงประสงค์ได้สองวิธีคือ
1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรมระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะต้องพัฒนาตนเองทางการคิดการปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันการวางแผนการจัดการและเทคนิควิธีการต่างๆที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการหมายถึงการมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฎิบัติตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้มี่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 2 การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเองการรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดี
ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็น
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึงการเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึงการใช้ทักษะการคิดเพื่อหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง
ประเด็นที่ 5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆควบคู่กับการพัฒนาตนเอง
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคและการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
ประเด็นที่ 7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดคววามรู้ ความเข้าใจตระหนักในความรู้ต่างๆที่คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์ต่างๆโดยภูมิปัญญาไทย
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหา
ประเด็นที่ 9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวและชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตัวหลักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในคลองลองแห่งความดีงามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซิกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลย์กันคือความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสารการคำนวนการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์คิดเป็นระบบสามารถใช้สติ ปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดีความงามของสรรพสิ่งเป็นคนที่มีสุขภาพกายดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคลิกภาพ ร่าเริงแจ่มใสจิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูลมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเผชิญหน้าและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงเรียนเพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตัวเอง เรือนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูปและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่าการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อหลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง พ.ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือเทศทางและนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้พบว่า บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด พบว่าการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอนการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการเรียนการสอนการประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่า ผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างทองแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกว่าคือ
รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์ วิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์
การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมติ
เป็นการสอนที่จะช่วยให้หาลักษณะเฉพาะของตนในสังคม และรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มสังคมยอมรับให้บุคคลทำงานด้วยกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาระหว่างบุคคลและพัฒนาวิถีประชาธิปไตยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
การสอนโดยอาศัยการเรียนบนพื้นฐานของปัญหา
จะช่วยพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบในการคิดแก้ปัญหา
การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ
เนื้อหาในส่วนนี้มุ่งทบทวนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ได้แก่ แบบรวมหัวกันคิด แบบร่วมมือ แบบประสานความรู้ แบบประชุมโต๊ะกลม
การสอนด้วยวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ
ทำให้ผู้เรียนมีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน ทำให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยการคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทักษะการคิด ทำให้ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ความหมาย
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ของผู้เรียน ตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ เป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาการทักษะในด้านต่างๆได้เต็มศักยภาพ
แนวคิด
1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
3.การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วย
4.สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์
5.ครูเป็นมากไปกว่าผู้สอน ครูเป็นทั้งทรัพยากรบุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก
6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
7.การศึกษาเป็นพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
8.ผู้เรียนได้เรียนรูวิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
9.การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดประชาธิปไตย
11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดมโนทัศน์ของตน
15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวร เนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ 3 ประการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ 1. แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย 2. เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน 3. ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญญา 4. ผลของความก้าวหน้าจากการเลืิอกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด 5. การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ขอบเขตของการเรียนรู้สามประการ
บลูมและเพื่อนๆเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้เป็นสามประเภท คือ 1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)(พฤติกรรมด้านสมอง)เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด 2.จิตพิสัย (Affective Domain)( พฤติกรรมด้านจิตใจ) ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม 3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท) พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
องค์ประกอบการเรียนรู้
ประกอบด้วยสิ่งสำคัญห้าประการคือ 1.ผู้เรียน 2.บทเรียน 3.วิธีการเรียนรู้ 4.การถ่ายโยงการเรียนรู้ 5.องค์ประกอบต่างๆทั้งกายภาพและจิตใจ
องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
ได้แก่ องค์ประกอบด้านสติปัญญา และองค์ประกอบด้านที่ไม่ใช้สติปัญญา
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
การวิจัยการเรียนรู้
การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึก ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้ คือ การทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
หลักการเรียนรู้
การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ ๆ เข้ากับการเรียนรู้เดิม
การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียน ข้อกำหนดการนำเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
การแนะนำบทเรียน
การแนะนำบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ ในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
การนำเสนอเนื้อหาใหม่
การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์ และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับ มีแบบของโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อผลดีของผู้เรียน
การฝึกปฏิบัติ
การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้เป็นกระบวนการองการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ทฤษฎีการเรียนการสอน
การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัต บุคคลเรียนรู้อย่างไรคำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้นจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยมเป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
คำกล่าวทั่วไปของทฤษฎีเหล่านี้ พบได้จากทฤษฎีการเรียนรู้ของโบเวอร์และฮิลการ์ด (Bower and Hilgard,1981) ทฤษฎีการเรียนการสอนบาง ทฤษฎีพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์การเรียนการสอนเฉพาะอย่างไปสู่ผลที่ได้รับของการเรียนรู้ (Learning outcomes) โดยกำหนดเงื่อนไขการเรียนการสอนซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด ทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนมีความคล้ายคลึงกันกับ ทฤษฎีการเรียนการสอนแต่เน้นไปที่กระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่กว้างกว่าทางทฤษฎีการเรียนการสอนและทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนต่างก็จะพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์การเรียนการสอนเฉพาะอย่าง (specific instructional events) ไปสู่ผลที่ได้รับของการเรียนรู้ (learning outcomes) ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน ดังนั้น เนิร์คและกูสตัฟสัน (Knirk and Gustafson, 1986 : 102) จึงสรุปว่าทฤษฎีการเรียนการสอน (instructional theory) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนย่อยของทฤษฎี การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design theory) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของทฤษฎีระบบการเรียนการสอน (instructional system theory)
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง สี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs) ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริล และไรเกลุท (Merrill and Reigeluth) ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส (Case) และทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา (landa)
1. ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
กาเย่ (Gagne, 1985) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เาได้รวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้ กาเย่แะลบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979) ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน ทฤษฎีดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้เดิม เช่น การเสริมแรง การต่อเนื่อง และการปฏิบัติ
2. ทฤษฎีการเรียนการสอนองเมอร์ริลและไรเกลุท
การแจ้งรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท (merril, 1984 : reigeluth, 1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหาภาพ สำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อขอองรายวิชา และลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ และการระลึก (จำได้)
3. ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
เคส (Case, 1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาว์ปัญญาขึ้นอยู่กับการปรากฎให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญา การใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์ (รวมถึงการเรียนการสอน) และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
4. ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
ทฤษฎ๊การเรียนการสอนของลันดา (Landa, 1974) เป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีการที่มีอยู่ในคู่มือการฝึกอบรม ในการใช้วิธีการออกแบบของลันดา เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู๋ก่อนหน้านั้น ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง
การพิจารณาคุณลักษณะของผู้เรียน
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า การเรียนรู้ทั้งหมดเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ( all leaning is individual) แต่ละบุคคลต้องรับรู้ (perceive) ตอบสนอง(respond) ต้องดำเนินการ(process) ต้องสะสม(store) ละต้องนำสารสนเทศของตน เจตคติ และการเคลื่อนไหวที่เป็นประประจำออกมาใช้
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนว คือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น 1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่...
-
หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis 2. ขั้นการออกแบบ Design 3. ขั้นการพัฒนา Development 4. ขั...
-
ประมวลรายวิชา ( Course Syllabus) ชื่อรายวิชา การจัดการเรียนรู้ และการจัดการในชั้นเรียน หมวดวิชา วิชาเฉพาะ ระด...