หน้าเเรก
วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ฐานเป็นเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีในประกอบด้วยการเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานและการเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่ง
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way midium) นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสิ่งที่ให้ข้อมูลป้อนกลับตัวอย่าง คือ ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วยหรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย มีครูซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคลต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือผู้ที่เรียนช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนการสอนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่น การฝึกเสริม ตัวอย่างเสริมกลุ่มพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการจัดไหม
กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมา ไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่างผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องทำการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือการตัดไหมจริงๆ
กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่น อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดีทัศน์ ภาพยนตร์)
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนว คือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น 1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางแผนการสอนที่ยึดหน่...
-
หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis 2. ขั้นการออกแบบ Design 3. ขั้นการพัฒนา Development 4. ขั...
-
ประมวลรายวิชา ( Course Syllabus) ชื่อรายวิชา การจัดการเรียนรู้ และการจัดการในชั้นเรียน หมวดวิชา วิชาเฉพาะ ระด...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น